สัตว์เล็กๆ ที่ว่า ได้สร้างรัง หรือบ้านให้เป็นของแข็งคล้ายกับหินปูนต่อกันออกมา ดูเหมือนกิ่งก้าน และ ใบของต้นไม้ ฉะนั้น มันจึงถูกจัดอยู่ในประเภทปะการังอ่อน (SOFT CORAL) ซึ่งมักจะเกาะอยู่ตามแนวหน้าผา และยื่นต้นออกมา หรืออยู่ตามพื้นทะเลที่โล่งๆ ในระดับน้ำค่อนข้างลึก ตั้งแต่เกือบ 20 เมตรลงไป
รูปร่างของมันคล้ายพัดที่กางออก มีประโยชน์ในการดักจับอาหารจำพวกแพลงตอนสัตว์ (ZOOPLANKTON) และแพลงตอนพืช (PHYTOPLANKTON) กับมูลของปลาที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ รวมทั้งอินทรีย์สารที่ละลายมากับน้ำ
ดังนั้น ตำแหน่งที่ต้นกัลปังหาเลือกอยู่ จึงมีกระแสน้ำค่อนข้างจะแรง เพื่อจะให้น้ำสามารถพัดพาเอา อาหารมาให้ ยิ่งมีน้ำพัดผ่านมากก็ยิ่งได้รับอาหารมากขึ้น แต่ถ้าปราศจากกระแสน้ำมันก็ไม่อาจมีชีวิต อยู่รอดได้
การที่ต้นกัลปังหาอยู่ในระดับลึกได้ ก็เนื่องจากมันไม่ต้องการแสงแดดมากในการสังเคราะห์แสงเพื่อ สันดาปอาหาร เราจึงอาจเห็นมันในระดับความลึกกว่า 40 เมตร และจะเป็นต้นที่ใหญ่มาก เนื่องจากไม่ค่อยมีอะไรมารบกวนมัน
ต้นกัลปังหามีหลายพันธุ์ และก็มีชื่อในภาษาลาติน อาทิ ACANTHOGORGIIDAE, SUBERGORGIIDAE, MELITHAEIDAE, CORGONIIDAE แต่ในภาษาไทยและอังกฤษ ส่วนใหญ่เราก็จะเรียกว่า ปะการังกอร์กอเนียน (GORGONIAN SEA FAN)
ในปีที่เกิดสึนามิกับชายฝั่งของจังหวัดภูเก็ต ทำให้ต้นกัลปังหาเหล่านี้หลุดจากฐานยึดมากมาย หลายต้นหมดท่าล้มนอนอยู่กับพื้นทะเล พวกเราจึงต้องไปซ่อมแซม ด้วยการหาที่ติดยึดกับพื้นหิน หรือแง่ผาใหม่ ให้มันมีชีวิต สามารถหาอาหารกินจากน้ำที่พัดผ่านได้
ขอขอบคุณ ครูศรันต์ กิตติวัณณะกุล ผู้เขียนบทความ
Ban's Diving Pattaya บริการจัดทริปดำน้ำพัทยา ทุกในวันหยุดสุดสัปดาห์ เสาร์ - อาทิตย์
สนใจติดต่อ คุณสมบัติ(ตุ๋น) สอนอาจ : เบอร์โทร 085 128 9935 email : thunsung@gmail.com
Ban's Diving Pattaya บริการจัดทริปดำน้ำพัทยา ทุกในวันหยุดสุดสัปดาห์ เสาร์ - อาทิตย์
สนใจติดต่อ คุณสมบัติ(ตุ๋น) สอนอาจ : เบอร์โทร 085 128 9935 email : thunsung@gmail.com
<<< กลับหน้าแรก |